เมื่อ : 16 พ.ย. 2567

นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานครพร้อมด้วยนายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพกรุงเทพมหานครและผู้บริหารด้านความยั่งยืนกรุงเทพมหานคร นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานครและผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อมตรวจเยี่ยมการปฎิบัติงานและให้กำลังใจเจ้าที่ผู้ปฏิบัติงานจัดเก็บกระทงในแม่น้ำเจ้าพระยา ในเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ บริเวณปากคลองโอ้งอ่าง ฝังพระนครได้สะพานพระปกเกล้า) ก่อนสำนักสิ่งแวดล้อม นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

 

งานเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2567 ในพื้นที่กรุงเทพฯ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน มีการจัดงานเพื่อสืบสานประเพณีในพื้นที่ต่าง ๆ รวมมากกว่า 140 แห่ง อาทิ งานเทศกาลลอยกระทงกรุงเทพฯ ประจำปี 2567 ณ คลองดูเมืองเติมคลองหลอด เขลพระนคร งานมนต์เสน่ห์ 4 ภาค ลอยกระทงบริเวณคลองเปรมประชากร ณ ลานอเนกประสงค์ชุมชนประชาร่วมใจ 1 และวัดเสมียนนารี เขตจดุจักร นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้เปิดสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานครจำนวน 34 แห่ง ให้ประชาชนลอยกระทง ตั้งแต่เวลา 05.00 - 24.00 น. โดยรณรงค์ขอความร่วมมือใช้กระทงที่ทำจาก วัสดุธรรมชาติ งดการนำกระทงที่ทำจากขนมปังและโฟมเข้ามาลอยในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร 

 

เนื่องจากเกิดผลกระทบกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของบึงน้ำซึ่งเป็นระบบปิด เพราะกระทงขนมปังเป็นปัญหาต่อการจัดเก็บมากที่สุดเปื่อยยุ่ยง่าย บางชนิดใช้สีที่เป็นอันครายต่อปลา และเมื่อขนมปังจมลงสู่กันสระ จะทำให้ระดับออกซิเจนต่ำลง เป็น อันครายกับสัตว์น้ำทุกชนิดและสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะจากกระทง กรุงเทพมหานครชวนลอยกระทงแบบรักษ์โลก มาด้วยกัน ลอยด้วยกัน 1 กลุ่ม 1 ครอบครัว 1 กระทง

 

ในส่วนของการจัดเก็บกระทง กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการจัดเก็บกระทงตามแผนการปฏิบัติงานจัดเก็บกระทงเพื่อไม่ให้ขยะดกค้างในแหล่งน้ำ แป่งพื้นที่การจัดเก็บกระทง ดังนี้ สำนักงานเขตจัดเก็บกระทงในสวนสาธารณะ และพื้นที่จัดงานในพื้นที่เขต สำนักการระบายน้ำจัดเก็บกระทงในดูดลอง และบึงรับน้ำ สำนักสิ่งแวดล้อมจัดเก็บกระทงในแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 8 ถึงสะพานพระราม 9 ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ได้จัดเจ้าหน้าที่ และวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะในการจัดเก็บกระทง จำนวน 185 คน เรือเก็บขยะจำนวน 40 ลำ ติดตั้งไฟส่องสว่างทุกลำประกอบด้วย เรือไฟเบอร์กลาส 34 ลำ 

 

เรือขนถ่ายและลำเลียงวัชพืช จำนวน 2 ลำ เรือเก็บขนและลำเลียงวัชพืช จำนวน 1 ลำ เรือกวาดเก็บวัชพืช จำนวน 1 ลำ และเรือดรวจการณ์ จำนวน 2 ลำ รถทั้งหมด 13 คัน ประกอบด้วย เรือครวจการณ์จำนวน 5 คัน รถบรรทุกเทท้าย จำนวน 8 คัน กระทงที่จัดเก็บได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาจะลำเลียงขึ้นที่ปากคลองโอ่งอ่าง เขตพระนครและท่าคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์ เขตราษฎร์บูรณะ โดยจะแยกเป็น กระทงที่ทำจากวัสคุธรรมชาติ นำไปบดย่อย และนำส่งโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์หนองแขม ส่วนกระท่งที่ทำจากวัสดุอื่น เช่น โฟม จะนำไปฝังกลับ