เตรียมรื้อสวนทุเรียน 100 ไร่นายทุนรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง จ.ตราด

นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา (ปธ.กมธ.ทรัพย์ฯ สว.) พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง ต. ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน กว่า 100 ไร่ ในอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
จากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ในอ่างเก็บน้ำ และริมอ่าง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน มีการปรับพื้นที่และยกโคกปลูกทุเรียน มีการวางระบบน้ำอย่างดี ซึ่งคาดว่า คนที่ดำเนินการปรับพื้นที่ปลูกทุเรียนที่นี่ ต้องมีทุนหรือเป็นนายทุน เพราะระบบจัดการทุกอย่างเป็นแบบสมัยใหม่ที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล ส่วนจะเป็นของใคร ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง
เบื้องต้นสวนทุเรียนกว่า 100 ไร่ ถูกเจ้าที่ชลประทาน ลงบันทึกจับกุมและปิดประกาศให้เจ้าของพื้นที่ได้ทราบว่าเป็นการบุกรุกหลังจากนี้ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอให้กรมชลประทานและกรมป่าไม้ประสานการทำงานร่วมกันโดยใช้ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 มาตรา 25 มาตรา (มาตรา 25 เมื่อได้กำหนดป่าใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และรัฐมนตรีได้แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาตินั้นแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดออกจากป่าสงวนแห่งชาติ หรือให้งดเว้นการกระทำใด ๆ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ในกรณีที่มีข้อเท็จจริงปรากฏหรือเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(2) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ รื้อถอนแก้ไขหรือทำประการอื่นใดแก่สิ่งที่เป็นอันตราย หรือสิ่งที่ทำให้เสื่อมสภาพในเขตป้าสงวนแห่งชาติ ภายในเวลาที่กำหนดให้
(3) ยึด ทำลาย รื้อถอน แก้ไขหรือทำประการอื่น เมื่อผู้กระทำผิดไม่ปฏิบัติตาม (2) ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดหรือรู้ตัวผู้กระทำผิดแต่หาตัวไม่พบ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวและได้เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น ให้ผู้กระทำผิดขดใช้หรือออกค่าใช้จ่ายนั้นทั้งหมด หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่นำทรัพย์สินที่ยึดไว้ไว้ได้ออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควรเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้น และให้นำความในมาตรา 1327 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินนั้นโดยอนุโลม
(4) ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายแก่ป่าสงวนแห่งชาติในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเข้าไปควบคุมผู้ดำเนินการนั่น คือการรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่ให้เป็นป่า โดยจะเริ่มดำเนินการให้เร็วที่สุด เพราะหากดำเนินคดีแต่ยังมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง หรือแปลงทุเรียนผู้กระทำผิดก็จะย้อนกลับมาทำต่อแล้วแก้ปัญหาไม่จบ
นายชีวะภาพฯ ระบุว่า ได้รับข้อมูลว่าเมื่อ 4-5 ปีก่อน มีเจ้าหน้าที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง ถูกลอบฆ่าด้วยการวางยาเสียชีวิต เพราะเข้ามาแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำนั้นจนอาจทำให้ผู้เสียผลประโยชน์ไม่พอใจ เรื่องนี้เป็นที่น่ากังวลยิ่ง เพราะทำให้เห็นว่าในพื้นที่บริเวณที่เกิดปัญหามีกลุ่มผู้มีอิทธิพลจริงถึงได้กล้าทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ จึงได้ให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติงานให้ระมัดระวังตัวในการบังคับใช้กฎหมายหากต้องการกำลังเสริมให้ประสานโดยตรงได้ที่ตัวเอง
นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นที่ป่าสงวนฯ รอบอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง มีการบุกรุกแผ้วถางและปลูกทุเรียนบนเขาน้อย ด้านทิศตะวันออกติดแนวเทือกเขาบรรทัดหลายแปลงซึ่งทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้ทำการตรวจยึดไว้ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการหรือถอนเช่นกัน